เราสามารถแบ่งชนิดของสารประกอบตามสมบัติความเป็นกรด-เบส ได้เป็น 3 ประเภท คือ

           1. กรด (acid) เป็นสารที่มีรสเปรี้ยว สามารถทำปฏิกิริยากับโลหะและคาร์บอเนต และจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นสีแดง

            แม้ว่ากรดจะมีรสเปรี้ยวเมื่อเราไม่ทราบก็ไม่ควรใช้ลิ้มชิม 
            กรดแบ่งได้ 2 ประเภท คือ กรดอินทรีย์ และ กรดอนินทรีย์
            กรด มี 2 ชื่อ คือ กรดไฮโดร กับ กรดออกซี่

            กรดไฮโดร (Hydro) เช่น HCl  HBr  HI  HF  HCN ฯลฯ กรดเหล่านี้ออกเสียง “ไฮโดร” นำหน้าแล้วตามด้วยสารที่ตามมา
 เช่น HCl อ่านว่า ไฮโดรเจนคลอไรด์ หรือ กรดเกลือ
            กรดออกซี่ (Oxy) เช่น HNO3  H2SO4  HClO3  H2CO3 ฯลฯ กรดเหล่านี้ออกเสียง “อิก” ลงท้ายเสมอ เช่น H2SO4 อ่านว่า กรดซัลฟูริก

สมบัติทั่วไปของสารละลายกรด
           1. มีรสเปรี้ยว
           2. เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
           
3. นำไฟฟ้าได้
           4. มีค่า pH น้อยกว่า 7
           
5. กัดกร่อนโลหะ คาร์บอเนต พลาสติก และสารอินทรีย์ทุกชนิด

ตารางที่ 10 ตัวอย่างกรดอินทรีย์ จากสิ่งมีชีวิตหรือสังเคราะห์จากสิ่งมีชีวิต

สารประกอบกรด

ชื่อสามัญ

สูตรเคมี

แหล่งที่พบ

ประโยชน์

กรดฟอร์มิก

กรดมด

HCOOH

มดแดง
ทำอาหาร ยาดม  ฆ่าน้ำยาง
กรดอะซิติก

กรดน้ำส้ม

CH3COOH

ส้ม มะนาว สังเคราะห์
ทำอาหาร
กรดเบนโซอิก

-

ซับซ้อนมาก

สังเคราะห์
อุตสาหกรรม
กรดแอสคอร์บิก

วิตามิน C

ซับซ้อนมาก

ผลไม้ สังเคราะห์
ทำอาหาร
กรดทาร์ทาริก

-

ซับซ้อนมาก

มะขาม
ทำอาหาร
กรดไฮโดรคลอริก

กรดเกลือ

HCl

กระเพาะอาหาร
ช่วยย่อยอาหาร
กรดไฮโดรไซยานิก

-

HCN

มันสำปะหลัง
มีพิษ

ตารางที่ 11 ตัวอย่างกรดอนินทรีย์ จากแร่ธาตุในห้องปฏิบัติการหรือธรรมชาติ

สารประกอบกรด

ชื่อสามัญ

สูตรเคมี

ประโยชน์

กรดไฮโดรคลอริก

กรดเกลือ

HCl

อุตสาหกรรมเคมี
กรดไฮโดรไซยานิก

-

HCN

ทางเคมี ยาพิษ
กรดไฮโดรซัลฟูริก

-

HS

อุตสาหกรรมทางเคมี
กรดไฮโดรฟูออริก

กรดกัดแก้ว

HF

กัดแก้ว
กรดซัลฟิวริก

กรดแบตเตอร์รี่

H2SO4

แบตเตอร์รี่ ฆ่าน้ำยาง
กรดไนตริก

กรดดินประสิว

HNO3

อุตสาหกรรมเคมี
กรดคาร์บอนิก

น้ำโซดา (เจือจาง)

H2CO3

กัดหินปูน (เข้มข้น)
กรดฟอสฟอริก

-

H3PO4

อุตสาหกรรมเคมี


           2. เบส (base) หรือด่าง คือ สารที่มีรสขมหรือฝาด เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดงเป็นน้ำเงิน มีลักษณะลื่นๆ 

สมบัติทั่วไปของสารละลายเบส
           1. มีรสฝาด ขม
           2. เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน
           
3. นำไฟฟ้าได้
           4. มีค่า pH มากกว่า 7
           
5. กัดกร่อนแก้ว เนื้อเยื่อ และสารอินทรีย์ทุกชนิด
           
6. ต้มกับไขมันได้สบู่ นิยมใช้  NaOH ทำสบู่ก้อน และ KOH ทำสบู่เหลว

ตารางที่ 12 ตัวอย่างเบสจากสิ่งมีชีวิต รือสังเคราะห์จากแร่ธาตุ

สารประกอบเบส

ชื่อสามัญ

สูตรเคมี

แหล่งที่พบ

ประโยชน์

ด่างธรรมชาติ

-

-

เมล็ด มะขาม เปลือกแค อาหาร  ยาลดกรด
โซเดียมไฮดรอกไซด์

โซดาไฟ
(โซดาแผดเผา)

NaOH

ธรรมชาติ
อุตสาหกรรม สบู่
โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์

ด่างคลี

KOH

ธรรมชาติ
อุตสาหกรรม สบู่
แคลเซียมออกไซด์

ปูนดิบ

CaO

เผาเปลือกหอย
เผาหินปูน
อุตสาหกรรม
แคลเซียมไฮดรอกไซด์

ปูนขาว ปูนสุก

Ca(OH)2

ธรรมชาติ
อุตสาหกรรม
แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์

น้ำแอมโมเนีย

NH4OH

ธรรมชาติ
อุตสาหกรรม
แอมโมเนีย

ก๊าซเยี่ยวอูฐ

NH3

ธรรมชาติ
ยาดม (เจือจาง)


           3. เกลือ (salt) เป็นสารประกอบที่เกิดจากโลหะหรือธาตุเทียบเท่าโลหะ ไปแทนที่ไฮโดรเจน (H) ในกรด อาจแทนที่ทั้งหมดหรือแทนเพียงอะตอมก็ได้ ส่วนใหญ่มีรสเค็ม มีหลายสีตามองค์ประกอบของธาตุ

ตารางที่ 13 ตัวอย่างเกลือชนิดต่างๆ

สารประกอบเกลือ

ชื่อสามัญ

สูตรเคมี

แหล่งที่พบ

ประโยชน์

โซเดียมคลอไรด์

เกลือแกง

NaCl

ทะเล

อาหาร  กระจก

โซเดียมคาร์บอเนตดีกาไฮเดรท

โซดาซักผ้า

Na2CO3.10H2O

สังเคราะห์

อุตสาหกรรม

โซเดียมคาร์บอเนต

โซดาแอช

Na2CO3

สังเคราะห์

อุตสาหกรรม

โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต

โซดาทำขนม

NaHCO3

สังเคราะห์

ทำขนม

โปแทสเซียมไนเตรท

ดินประสิว

KNO3

สังเคราะห์

บั้งไฟ  ดินปืน

โปแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต

ด่างทับทิม

KMnO4

สังเคราะห์

อุตสาหกรรม

แคลเซียมคาร์บอเนต

หินปูน

CaCO3

ธรรมชาติ

อุตสาหกรรม

แคลเซียมซัลเฟตไดไฮเดรท

ยิปซัม/เกลือจืด

CaSO4.2H2O

ธรรมชาติ

อุตสาหกรรม

แมกนีเซียมซัลเฟต

ดีเกลือ

MgSO4

ธรรมชาติ

อุตสาหกรรม

 

 


Free Web Counters

Copyright © 2008 All Servers
จัดทำโดย : นายธีรพงษ์ แสงสิทธิ์
E-mail : Pingpong_pj56@hotmail.com