พืชศึกษา – กระพังโหม

  1. ชื่อวิทยาศาสตร์

Paederia foetida  Linn.

  • ชื่อวงศ์ 

RUBIACEAE

  • ชื่อพื้นเมือง 

กระพังโหม (กลาง), ตะมูกปาไหล (อุดรธานี-อีสาน), กระเยวเผือ (สกลนคร-อีสาน), ผักไหม (เชียงใหม่-เหนือ), เครือไส้ปลาไหล (มหาสารคาม-อีสาน), ตดหมูตดหมา (เหนือ,กลาง), ย่านพาโหม (ใต้), พังโหม

  • ชื่อภาษาอังกฤษ 

Skunk-vine

  •  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระพังโหม เป็นพืชจำพวกไม้เถาเลื้อยประเภทล้มลุก  ลำต้นมีขนาดเล็กเลื้อยไปตามพื้นดินหรือพันต้นไม้อื่น ลำต้นและใบมียางสีขาว  เมื่อขยี้ดมดูมีกลิ่นเหม็น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้าม ใบสีเขียวเนื้อในบาง ก้านใบสั้นเส้นใบโค้งจรดกันที่ใกล้ ๆ ขอบใบ ดอกออกเป็นช่อดอกเล็กๆ ตรงซอกใบหรือโคนก้านใบ ช่อละ 2-3 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ  ขนาดเล็กกลีบปลายลีบแยกกัน กลีบด้านนอกสีขาว   กลีบด้านในสีม่วงแดงหรือสีชมพูประด้วยสีม่วงจุดสีน้ำตาล  เกสรตัวผู้มี 5 อัน  เกสรตัวเมีย 1 อันอยู่ตรงกลาง  ผลเป็นฝักยาวสีเขียวยาวประมาณ 4-7 ซม.กว้าง 1.6 ซม. กระพังโหมมีหลายพันธุ์  ชนิดใบใหญ่ ใบรูปไข่ มีขนสั้น ๆ ปกคลุม เรียกว่า ตูดหมูหรือตดหมู หรือกระพังโหมใหญ่  ชนิดใบเล็ก รูปเรียวยาวหรือรูปหอก  เรียกตดหมาหรือกระพังโหมเล็ก ชนิดใบใหญ่ไม่มียางไม่มีขนกลิ่นเหม็นอ่อน ๆ เรียก ย่านพาโหม

  •  การปลูก

กระพังโหมเป็นไม้ที่ขึ้นทั่วไปในธรรมชาติ(ป่าผสมผลัดใบและป่าเต็งรัง)และบริเวณในสวนใช้วิธีการขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการเพาะต้นอ่อน ชาวบ้านนิยมนำมาปลูกใกล้บ้านเพื่อเก็บรับประทานสะดวก การปลูกควรทำลานให้เลื้อยหรือปลูกไว้ริมรั้ว

  •  ประโยชน์ทางยา

รักษาอาการอักเสบบริเวณคอปาก รักษาบาดแผล ปรุงเป็นยาขับน้ำนม แก้บิดไข้รากสาด ใบและเถา แก้ไข้ รักษาบาดแผล ระบายอ่อนๆในเด็ก แก้ตานซาง แก้ตัวร้อน ขับลม แก้ธาตุพิการ ท้องเสีย เจริญอาหาร ขับพยาธิไส้เดือน ใบ ตำพอกแก้พิษงู แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด ราก แก้โรคดีซ่าน สรรพคุณทางยาอื่นๆใช้ถอนพิษสุรายาสูบ พิษจากอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ธาตุพิการ สำหรับสรรพคุณทางยาสมุนไพรนั้นมีค่อนข้างมากในตำรายาไทยพบว่ากระพังโหมทั้งเถา นำมาต้มดื่มแก้พิษไข้ ขับปัสสาวะ ถอนพิษต่างๆรวมทั้งแก้ท้องเสียมีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าสารสกัดจากกระพังโหมสามารถแก้อาการท้องเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  •  รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ

รสขมกลิ่นเหม็นเขียว ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย ยอดอ่อนและใบกระพังโหมยังไม่มีการวิเคราะห์สารอาหาร
20150522_163939

  • แหล่งอ้างอิง : 
    • http://plugmet.orgfree.com/flora_a-1.htm
    • https://th.wikipedia.org/wiki/กระพังโหม
    • http://www.phrae.mju.ac.th/cms/rspg/index.php/2014-07-08-09-10-44/52-2014-07-16-08-52-13

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *